วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

แนวการสอนรายวิชา ระบบการจัดการองค์ความรู้

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ

หมวดที่ 1 ข้อมูลโดยทั่วไป
1. รหัสและชื่อรายวิชา
รหัส 1632205 รายวิชาระบบการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management System)
2. จำนวนหน่วยกิต
3 หน่วยกิต 3(3-0)
3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
4.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา : อาจารย์บุญญลักษม์ ตำนานจิตร
4.2 อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์บุญญลักษม์ ตำนานจิตร และอาจารย์สายสุดา ปั้นตระกูล
5. ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
ภาคเรียนที่ 2/2552 ชั้นปีที่ 2
6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)
                                               -
7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)
                                               -
8. สถานที่เรียน
อาคาร 11 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
      มิถุนายน พ.ศ.2549


หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
     1.1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ ทฤษฎีของการจัดการความรู้ ตลอดจนคุณลักษณะและประเภทของความรู้
     1.1.2 เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความรู้ และสารสนเทศ เพื่อนำมาศึกษาถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการจัดการความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้
     1.1.3 นักศึกษาอธิบาย เลือกใช้ และประยุกต์รูปแบบการจัดการความรู้ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานในองค์กร และพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน
     1.1.4 เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ หรือสถาปัตยกรรมระบบการจัดการความรู้ในองค์กรที่ใช้ทุนทางปัญญามาเป็นฐานความรู้
     1.1.5 เพื่อให้นักศึกษาตระหนักในความสำคัญของการนำกฎหมาย คุณธรรม และศีลธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้มาใช้เป็นฐานพิจารณาการวัดและประเมินสถานการณ์จัดการความรู้ขององค์กร
     1.1.6 เพื่อให้นักศึกษาสามารถรู้เท่าทันสภาพการณ์การจัดการความรู้ในปัจจุบัน และแนวโน้มทิศทางการจัดการความรู้ในอนาคต เพื่อประเมินความคุ้มค่าในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการความรู้
      1.1.7 เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีการจัดการความรู้ไปใช้ในการกำหนดอาชีพด้านการจัดการความรู้ในองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนได้
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
         มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบมาตรฐานของคณะกรรมการการอุดมศึกษา


หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ
1. คำอธิบายรายวิชา
        ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการองค์ความรู้ กลยุทธ์การจัดการองค์ความรู้ การจัดการองค์ความรู้ในองค์กร บุคลากรในการจัดการความรู้ การประเมินประสิทธิภาพของระบบการจัดการความรู้ ทุนทางปัญญา ระบบฐานความรู้ ระบบการจัดการความรู้ในภาคธุรกิจและภาครัฐ
2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย สอนเสริม การฝึกปฏิบัติ/งาน
ภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
45 ชั่วโมง - - 15 ชั่วโมง
3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
      4 ชั่วโมง / สัปดาห์


หมวดที่ 4 การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
1. คุณธรรม จริยธรรม
   1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
      - ตระหนักในจรรยาบรรณวิชาชีพด้านความรับผิดชอบต่อการจัดการความรู้ของตน สถาบันการศึกษา และในวิชาชีพ
      - เพื่อให้นักศึกษาเห็นความสำคัญในการนำกฎหมาย คุณธรรม และศีลธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้มาใช้เป็นฐานพิจารณาการวัดและประเมินสถานการณ์จัดการความรู้ขององค์กร
     - มีวินัยต่อการเรียน ส่งมอบงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด
     - รับฟังการแสดงความคิดเห็นและการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเพื่อนในชั้นเรียน และอาจารย์
1.2 วิธีการสอน
     - ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้อย่างเป็นกลางบนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ
     - ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างด้านการจัดการความรู้ที่มีจรรยาบรรณและศีลธรรมในวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมทั้งข้อดีและข้อเสียจากการประพฤติปฏิบัติในแง่มุมต่างๆ
     - อาจารย์อธิบายคุณธรรม 8 ประการในการจัดการความรู้ และระบบสารสนเทศกับแนวความคิดด้านสังคมและวัฒนธรรม พร้อมทั้งการจัดการความรู้เป็นการส่งเสริมการร่วมมือกันทำงานให้สำเร็จ ผ่านการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ อันนำไปสู่การมีจิตสำนึกใหม่
1.3 วิธีการประเมินผล
     - ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและในโอกาสที่หลักสูตรวิชาฯ/คณะจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่นักศึกษามีการทำงานร่วมกันเป็นทีม
     - นักศึกษาประเมินจุดเด่นและจุดด้อยของตนเอง พร้อมทั้งข้อเสนแนะแนวทางแก้ไข
     - ประเมินผลจากถามตอบในชั้นเรียนด้านการมีจิตสำนึกในการทำงานร่วมกัน ความรับผิดชอบ
     - การสังเกตความตรงต่อเวลาในการมาเรียน และการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
2. ความรู้
    2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
      - เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ ทฤษฎีของการจัดการความรู้ ตลอดจนคุณลักษณะและประเภทของความรู้
      - เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความรู้ และสารสนเทศ เพื่อนำมาศึกษาถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการจัดการความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้
      - เพื่อให้นักศึกษาอธิบาย เลือกใช้ และประยุกต์รูปแบบการจัดการความรู้ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานในองค์กร และพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน
      - เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ หรือสถาปัตยกรรมระบบการจัดการความรู้ในองค์กรที่ใช้ทุนทางปัญญามาเป็นฐานความรู้
    2.2 วิธีการสอน
      - ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนแบบ e-Learning เป็นต้น
    2.3 วิธีการประเมินผล
      - การสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
      - ทำรายงานรายบุคคล และรายกลุ่ม
      - การออกแบบทำเว็บบล็อกเพื่อจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือด้านที่ผู้เรียนสนใจ.
3. ทักษะทางปัญญา
     3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
      - เพื่อให้นักศึกษาสามารถรู้เท่าทันสภาพการณ์การจัดการความรู้ในปัจจุบัน และแนวโน้มทิศทางการจัดการความรู้ในอนาคต เพื่อประเมินความคุ้มค่าในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการความรู้
      - เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีการจัดการความรู้ไปใช้ในการกำหนดอาชีพด้านการจัดการความรู้ในองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนได้
    3.2 วิธีการสอน
     - ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้มาใช้เป็นฐานพิจารณาการวัดและประเมินสถานการณ์จัดการความรู้ในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต
     - ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างด้านการจัดการความรู้โดยใช้เครื่องมือชนิดต่างๆ ในการจัดการความรู้ เช่น การจัดการความรู้โดยใช้ระบบสารสนเทศ เว็บไซต์ เว็บบล็อก การสัมมนา การจัดนิทรรศการ การเล่าเรื่อง การจัดเวทีเสวนา เป็นต้น
    - อาจารย์อธิบายกระบวนการใช้เทคโนโลยีสนเทศในการจัดการความรู้ แล้วมอบหมายให้นักศึกษาออกแบบสร้างเว็บบล็อก เพื่อเปิดกว้างให้นักศึกษาศึกษาและมีวิสัยทัศน์เพิ่มเติม สามารถแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
   3.3 วิธีการประเมินผล
     - ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและในโอกาสที่หลักสูตรวิชาฯ/คณะจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
     - ประเมินผลจากการออกแบบรูปแบบการจัดการความรู้ของตนเอง ในลักษณะกลุ่มวิชา และความรู้ด้านการศึกษาและพัฒนาในวิชาชีพ
     - นักศึกษาประเมินตนเอง
     - ประเมินผลจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนระหว่างเรียน สอบกลางภาคเรียน และสอบปลายภาคเรียน
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
    4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
      - มีความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งรายบุคคลและงานกลุ่ม
      - สามารถปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกสถานการณ์
      - วางตัวและร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
      - วิเคราะห์และจัดการความรู้ได้ทันสภาพการณ์ในปัจจุบัน
    4.2 วิธีการสอน
      - จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่นและบุคคลภายนอก
     - มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
     - เปิดโอกาสให้นักศึกษาแต่ละคนมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างอิสระ อันนำไปถึงกระบวนการในการทำงานกลุ่ม
    4.3 วิธีการประเมินผล
     - ประเมินการแสดงออกและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
     - ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
     - ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบในการจัดการความรู้ร่วมกัน
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
     5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
      - สามารถใช้ Notebook Computer และอุปกรณ์ในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างน่าสนใจในรูปแบบเว็บบล็อก
     - สามารถคัดเลือกแหล่งข้อมูล เพื่อออกแบบรูปแบบการจัดการความรู้ของตนเอง และของส่วนรวม
      - สามารถค้นคว้าหาข้อมูล/ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางอินเตอร์เน็ต
      - สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการนำเสนอด้วยการเขียนและการพูดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ตามลักษณะเนื้อหาของรายวิชา
     5.2 วิธีการสอน
      - ใช้ PowerPoint และโปรแกรมสำหรับนำเสนอเนื้อหาในลักษณะ Multimedia ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ ประกอบการสอนในชั้นเรียน
      - การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมาจัดการความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
     - การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
     - การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
     - การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
     5.3 วิธีการประเมินผล
     - ประเมินทักษะการใช้ภาษาเขียนจากเอกสารรายงาน และการออกแบบเว็บบล็อก
     - ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้วัจนภาษา และอวัจนภาษาในการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
     - ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ


หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล
1. แผนการสอน
สัปดาห์ที่ หัวข้อ/รายละเอียด จน.ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน/สื่อที่ใช้ ผู้สอน
1-2
- แนะนำรายละเอียดและวัตถุประสงค์รายวิชา
- บทที่ 1 แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความรู้
1. ความหมายของความรู้และ การจัดการความรู้
2. ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และปัญญา
3. ประเภทของความรู้
4. หลักการจัดการความรู้
5. คุณลักษณะของความรู้
6. ความสำคัญและประโยชน์ของการจัดการความรู้
6
- ชี้แจงวัตถุประสงค์ของรายวิชารูปแบบการเรียนการสอน และการเก็บคะแนน
- มอบหมายโจทย์ปัญหา - แนะนำวิธีการและแหล่งสืบค้นข้อมูล นักศึกษาสืบค้นข้อมูล จากเว็บไซต์ และ
เว็บบล็อกของอาจารย์
อ.บุญญลักษม์
อ.สายสุดา
3-4
บทที่ 2 กระบวนการและรูปแบบการจัดการความรู้
1. แนวคิดการจัดการความรู้
2. ทฤษฎีการจัดการความรู้
3. กระบวนการจัดการความรู้
4. รูปแบบของการจัดการความรู้
5. ทุนทางปัญญา
6. ฐานข้อมูลความรู้
6
- บรรยาย ซักถาม อภิปราย นำเสนอความคิดเห็น อาจารย์ให้ข้อมูลย้อนกลับ
- ให้นักศึกษาเขียนจุดเด่นและจุดด้อยของตนเอง พร้อมข้อเสนอแนะในการปรับปรุงตนเอง (กิจกรรมที่ 1)
- ให้นักศึกษาออกแบบรูปแบบการจัดการความรู้ของตนเอง (กิจกรรมที่ 2)
อ.บุญญลักษม์
5-6
บทที่ 3 ระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการความรู้
1. ระบบและระบบสารสนเทศ
2. ประเภทของระบบสารสนเทศ
3. รูปแบบการจัดการความรู้
4. รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศกับกระบวนการจัดการความรู้
5. สถาปัตยกรรมระบบการจัดการความรู้
6. การบริหารระบบการจัดการความรู้
6
- การศึกษาตามโจทย์ปัญหา อาจารย์ให้ข้อมูลย้อนกลับรายกลุ่มและบรรยายเพิ่มเติม
- บรรยาย ซักถาม อภิปราย นำเสนอความคิดเห็น อาจารย์ให้ข้อมูลย้อนกลับ
- ให้โจทย์นักศึกษาจับกลุ่มในการออกแบบรูปแบบการจัดการความรู้บนเว็บบล็อก กลุ่มละ 5-10 คน (กิจกรรมที่ 3)
อ.บุญญลักษม์
7
บทที่ 4 องค์กรแห่งการเรียนรู้
1. ความหมายขององค์กรแห่ง
การเรียนรู้
2. แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรแห่ง
การเรียนรู้
3. ลักษณะขององค์การแห่งการ
เรียนรู้
4. องค์ประกอบขององค์กรแห่ง
การเรียนรู้
5. การพัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่ง
การเรียนรู้
3
- บรรยาย ซักถาม อภิปราย นำเสนอความคิดเห็น อาจารย์ให้ข้อมูลย้อนกลับ
- ให้นักศึกษานำเสนอตัวอย่างรูปแบบการจัดการความรู้ขององค์กรอื่นๆ ที่สนใจเป็นรายกลุ่ม (กิจกรรมที่ 4)
- สอบกลางภาคเรียน
อ.สายสุดา
8-9
บทที่ 5 โครงสร้างพื้นฐานของการจัดการความรู้
1. บุคลากรในการจัดการความรู้
2. คนสำคัญที่ดำเนินการจัดการความรู้ในทัศนะ สคส.
3. สถานที่ในการจัดการความรู้
4. วัฒนธรรมองค์กร
5. ภาวะผู้นำ
6. ทศปฏิบัติสู่การเป็นองค์การเรียนรู้
6
- บรรยาย ซักถาม อภิปราย นำเสนอความคิดเห็น อาจารย์ให้ข้อมูลย้อนกลับ
- ให้นักศึกษาร่วมกันกำหนดหน้าที่ในการจัดการความรู้เป็นรายกลุ่ม
อ.สายสุดา
10-11
บทที่ 6 ปฏิบัติการจัดการความรู้
1. เครื่องมือจัดการความรู้
2. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือจัดเรียนรู้
3. การสร้างบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้
4. ปัจจัยส่งเสริมการจัดการเรียนรู้
5. การวิจัยกับการจัดการเรียนรู้
กรณีศึกษาการจัดการความรู้
6
- นักศึกษาเสนอรายงานปากเปล่าและสื่ออิเล็กทรอนิกส์
และสรุปรายงาน
- นักศึกษานำเสนอรูปแบบเว็บบล็อกเป็นรายกลุ่ม (กิจกรรมที่ 3)
อ.บุญญลักษม์
12-13
บทที่ 7 การวัดและประเมินผลการจัดการความรู้
1. ความหมายของการวัดและประเมินผล
2. การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้
3. การประเมินสถานการณ์จัดการความรู้ขององค์กร
4. การติดตามและประเมินความรู้
ผลลัพธ์ของการจัดการความรู้
6
- บรรยาย ซักถาม อภิปราย นำเสนอความคิดเห็น อาจารย์ให้ข้อมูลย้อนกลับ
- นักศึกษานำเสนอเนื้อหาสาระ และรูปแบบการวัดและประเมินผลการจัดการความรู้ที่จะนำไปใส่บนเว็บบล็อกเป็นรายกลุ่ม
อ.บุญญลักษม์
14
บทที่ 8 คุณธรรมจริยธรรมสำหรับการจัดการความรู้
1. คุณธรรม 8 ประการของการจัดการความรู้
2. การจัดการความรู้สู่การพัฒนาศักยภาพมนุษย์
3. ศีลธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้
4. การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมในการจัดการความรู้
5. ระบบสารสนเทศกับแนวความคิดด้านสังคมและจริยธรรม
การปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องการจัดการความรู้
3
- บรรยาย ซักถาม อภิปราย นำเสนอความคิดเห็น อาจารย์ให้ข้อมูลย้อนกลับ
- นักศึกษานำเสนอเนื้อหาสาระที่จะนำไปใส่บนเว็บบล็อกเป็นรายกลุ่ม
อ.สายสุดา
15
- นักศึกษาดำเนินการจัดสัมมนา เรื่อง การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
- นักศึกษาประยุกต์ความรู้ด้านการจัดการความรู้โดยการจัดสัมมนา เรื่อง ความสำเร็จในการใช้ความรู้ของบุคลากร IT ในปัจจุบัน
(กิจกรรมที่ 5)
อ.บุญญลักษม์
อ.สายสุดา
16
สอบปลายภาคเรียน

2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
กิจกรรม
ที่
ผลการเรียนรู้
วิธีการประเมิน
สัปดาห์ที่ประเมิน
สัดส่วนของการประเมินผล
1
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ ทฤษฎีของการจัดการความรู้ นักศึกษาเขียนจุดเด่นและจุดด้อยของตนเอง พร้อมข้อเสนอแนะในการปรับปรุงตนเอง
4
5%
2
- อธิบาย เลือกใช้ และประยุกต์รูปแบบการจัดการความรู้ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานในองค์กร และพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน
- อธิบาย เลือกใช้ และประยุกต์รูปแบบการจัดการความรู้ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานในองค์กร และพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน
นักศึกษาออกแบบรูปแบบการจัดการความรู้ของตนเอง
5-6
5%
3
- วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความรู้ และสารสนเทศ เพื่อนำมาศึกษาถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการจัดการความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้
- ตระหนักในความสำคัญของการนำกฎหมาย คุณธรรม และศีลธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้มาใช้เป็นฐานพิจารณาการวัดและประเมินสถานการณ์จัดการความรู้ขององค์กร
นักศึกษาจับกลุ่มในการออกแบบรูปแบบการจัดการความรู้บนเว็บบล็อก กลุ่มละ 5-10 คน
7-14
10%
4
- วิเคราะห์ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ หรือสถาปัตยกรรมระบบการจัดการความรู้ในองค์กรที่ใช้ทุนทางปัญญามาเป็นฐานความรู้ นักศึกษานำเสนอตัวอย่างรูปแบบการจัดการความรู้ขององค์กรอื่นๆ ที่สนใจเป็นรายกลุ่ม
7-9
10%
5
- สามารถรู้เท่าทันสภาพการณ์การจัดการความรู้ในปัจจุบัน และแนวโน้มทิศทางการจัดการความรู้ในอนาคต เพื่อประเมินความคุ้มค่าในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการความรู้
- สามารถประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีการจัดการความรู้ไปใช้ในการกำหนดอาชีพด้านการจัดการความรู้ในองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนได้
นักศึกษาประยุกต์ความรู้ด้านการจัดการความรู้โดยการจัดสัมมนา เรื่อง ความสำเร็จในการใช้ความรู้ของบุคลากร IT ในปัจจุบัน
1-15
20%
จุดมุ่งหมายของรายวิชา ที่ 1.1.1-1.1.3 - สอบกลางภาค
7
20%
จุดมุ่งหมายของรายวิชา ที่ 1.1.1-1.1.7 - สอบปลายภาค
16
30%


หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
1. เอกสารและตำราหลัก
บุญญลักษม์ ตำนานจิตร. (2550). ระบบการจัดการองค์ความรู้. กรุงเทพฯ : ศูนย์เอกสารและตำรา
                   มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
2. เอกสารและข้อมูลสำคัญ
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2548). องค์การแห่งความรู้: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
                   แซท์โฟร์ พริ้นติ้ง.
พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้ : พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
วิจารณ์ พานิช. (2549). การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.
3. เอกสารและข้อมูลแนะนำ
บดินทร์ วิจารณ์. (2547). การจัดการความรู้ สู่...ปัญญาปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
วิจารณ์ พานิช. สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.). (2550). [Online]. Available:
                   http://www.kmi.or.th/document/U_KM_ModelDev.doc. [2550,
                   สิงหาคม 18].


หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
             ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึงวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัย
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
             การประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยภาควิชา จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
3. การปรับปรุงการสอน
             หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษา และเป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตที่กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอน/การวิจัยในชั้นเรียน และมอบหมายให้อาจารย์ผู้สอนทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 รายวิชา มีการประชุมอาจารย์ทั้งหลักสูตรเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข พร้อมทั้งนำผลจากการวิจัยไปปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรต่อไป
4. การทวนมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
             หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศมีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของภาควิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
5. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
              หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศมีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าภาควิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป

7 ความคิดเห็น:

  1. ขอเกรด A ก่อนได้ไหมครับ

    ตอบลบ
  2. ได้เลยค่ะเอกวิทย์..แต่ต้องสร้าง blog ให้เก่งๆ นะคะ..

    ตอบลบ
  3. หุหุหุ มีคนมาขอเกรด A กันแบบนี้เลยเหรอ โอ้เย้

    ตอบลบ
  4. อาจารย์หนูdownloadไม่ได้อ่ะ

    ตอบลบ
  5. สื่อการสอนและรายละเอียดที่อาจารย์สอนอยู่ใน URL นี้ค่ะ

    http://egg-sdu.blogspot.com/search/label/%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99

    ตอบลบ
  6. สื่อการสอนและรายละเอียดที่อาจารย์สอนอยู่ใน URL นี้ค่ะ

    http://egg-sdu.blogspot.com/search/label/%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99

    ตอบลบ